: พิธีทางพุทธศาสนา: ธง

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ธง



ธงชาติไทยชื่อ ธงไตรรงค์
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะ ธงสามสีห้าแถบ พื้นแดง-ขาว-น้ำเงิน-ขาว-แดง แถบกลางกว้างเป็น 2 เท่า
ออกแบบโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน โดยภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ ซึ่งแถบสีน้ำเงินนี้ใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสามสถาบันหลักของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝ่ายสัมพันธมิตร



ธง ภปร.




ธงพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
พระราชลัญจกร รัชการที่ 9 หมายถึง แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

พระมหาพิชัยมงกุฎ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร และพระเศวตฉัตร หมายถึงเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์

เลขไทย ๘๐ และเพชร 80 เม็ด หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา แถบแพรสีชมพู หมายถึง สีอายุตามโหราศาสตร์ทักษาพยากรณ์ ตรงกับวันอังคารของพระองค์ และบอกชื่อตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ดอกพิกุลทอง 5 ดอก ดอกพิกุลเงิน 4 ดอก ที่แท่นแปดเหลี่ยมรองรับพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์

(ผู้ออกแบบ - นายสุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ 7 ว ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (เป็นแบบที่12)



ธง สก.




ธงธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนา ที่ใช้ทั่วไปสำหรับในประเทศไทย คือ ธงพระธรรมจักร อันหมายถึง ธรรมะที่นำไปสอนในที่ต่าง ๆ แล้วยังความสันติสุขให้เกิดขึ้นในที่นั้น ๆ ลักษณะธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองแก่ (สีกรัก) ตรงกลางเป็นรูปพระธรรมจักรสีแดง
ปกติแล้ว รูปธรรมจักรนั้นมักทำเป็นรูปธรรมจักรประกอบด้วยซี่ล้อหรือกำ 8 ซี่ แต่ละซี่มีความหมายถึงองค์ของอริยมรรคแต่ละองค์ อันมีองค์ 8 วงล้อหมายถึง ทุกข์และสมุทัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเกิดมาแล้วจะต้องประสบ ดุมที่เป็นศูนย์กลางและสงบนิ่งไม่หมุน หมายถึง จุดหมายสูงสุด คือ นิโรธหรือนิพพาน
จำนวนซี่ล้อหรือกำในพระธรรมจักรนั้น หากมีจำนวนต่างกันออกไป ก็อาจแทนปรัชญาธรรมอื่นๆ ได้ดังนี้
ถ้ามี 12 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท 12
ถ้ามี 24 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการทั้งด้านเกิด 12 และด้านดับ 12
ถ้ามี 31 ซี่ หมายถึง ภูมิ 31(กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4)
สำหรับธงพระธรรมจักรของไทยนั้น นิยมทำรูปพระธรรมจักรให้มีกำ 12 ซี่ ดังภาพที่ปรากฏในหน้านี้
ในพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนาหรือในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาก็จะมีการประดับธงธรรมจักรตามสถานสำคัญต่าง ๆ เสมอ
ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น: